ภาพกิจกรรมการเรียนการสอน
อุปกรณ์เกม “ตักไข่ ใบ้คำ” และสถานการณ์จำลอง
ภาพประกอบการเล่นเกมและสถานการณ์จำลอง
อภิปรายผลและสรุปผลการวิจัย
ผลการวิจัยการเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนเรื่อง
การใช้ถ้อยคำภาษาในการสื่อสารทั้งวัจนภาษาและอวัจนภาษา วิชาภาษาไทยพื้นฐาน ของนักเรียนประกาศนียบัตรวิชาชีพ
ชั้นปีที่ 1 วิทยาลัยเทคโนโลยีการจัดการเพชรเกษม
และวิทยาลัยอาชีวศึกษาคิงส์ตัน พัทยาที่จัดการเรียนการสอนโดยการใช้และไม่ใช้เกม ตักไข่ใบ้คำ และสถานการณ์จำลอง ดังนั้นผู้วิจัยจึงขออภิปรายผลตามลำดับดังนี้
1. จากผู้เรียนกลุ่มทดลองทั้ง 2 วิทยาลัยมีคะแนนความรู้เฉลี่ยจากการทดสอบหลังเรียนสูงกว่าคะแนนความรู้เฉลี่ยจากการทดสอบก่อนเรียน
ทั้งนี้เป็นเพราะการเรียนรู้โดยใช้เกมและสถานการณ์จำลองทำให้นักเรียนเกิดการเรียนรู้ด้วยตนเองจากประสบการณ์เดิม
และเข้าใจเนื้อหามากขึ้น อีกทั้งยังทำให้ผู้เรียนมีความสนุกสนานในการเล่นเกมและแสดงถึงความสามารถของนักเรียนโดยนักเรียนเป็นผู้ดำเนินการเล่นเอง
ทำให้ได้ประสบการณ์ตรงเป็นวิธีที่เปิดโอกาสให้นักเรียนมีร่วม ซึ่งสอดคล้องกับทฤษฎีการสร้างความรู้ด้วยตนเอง (Constructivism)ที่กล่าวว่าผู้เรียนเป็นผู้แสดงความรู้ได้ด้วยตนเอง
และสามารถสร้างความรู้ด้วยตนเองได้ ผู้เรียนจะเป็นผู้ออกไปสังเกตสิ่งที่ตนอยากรู้
มาร่วมกันอภิปราย สรุปผลการค้นพบ แล้วนำไปศึกษาค้นคว้าเพิ่มเติมจากเอกสารวิชาการ
หรือแหล่งความรู้ที่หาได้ เพื่อตรวจความรู้ที่ได้มา
และเพิ่มเติมเป็นองค์ความรู้ที่สมบูรณ์ต่อไป และทฤษฎีพหุปัญญา (Theory of Multiple Intelligences) กล่าวว่าปัญญาด้านภาษา (Linguistic Intelligence) คือ ความสามารถในการใช้ภาษารูปแบบต่างๆ ตั้งแต่ภาษาพื้นเมือง
จนถึงภาษาอื่นๆ ด้วย สามารถรับรู้ เข้าใจภาษา
และสามารถสื่อภาษาให้ผู้อื่นเข้าใจได้ตามที่ต้องการ ผู้ที่มีปัญญาด้านนี้โดดเด่น
ก็มักเป็น กวี นักเขียน นักพูด นักหนังสือพิมพ์ ครู ทนายความ หรือนักการเมือง ทิศนา แขมมณี (2554 : 90-95)
2. ผลการวิจัยครั้งนี้สอดคล้องกับงานวิจัยของ
บุษรีย์ ฤกษ์เมือง (2552) การใช้เกมคำศัพท์ภาษาอังกฤษเพื่อพัฒนาการเรียนรู้คำศัพท์ภาษาอังกฤษสำหรับ
นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 โรงเรียนบุรารักษ์
ผลการศึกษาพบว่า 1) นักเรียนที่เรียนโดยใช้เกมคำศัพท์ประกอบการเรียนการสอนมีคะแนนเฉลี่ยทักษะคำศัพท์
ภาษาอังกฤษสูงกว่าร้อยละ 70 2) นักเรียนมีความรู้สึกชอบในกิจกรรมเกมคำศัพท์ที่ใช้ประกอบการสอนในระดับชอบมากทุกเกม
และสอดคล้องกับงานวิจัยของ สุภาวดี เริงชัยภูมิ (2555)
ได้ทำการวิจัยเรื่องการพัฒนาชุดกิจกรรมเกมฝึกการเขียนสะกดคำสำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่
2 ผลการวิจัยพบว่า 1) ชุดกิจกรรมเกมฝึกการเขียน
สะกดคำสำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 2 มีความเหมาะสมในระดับมาก
และมีประสิทธิภาพ 80.51/80.17 2) นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่2 มีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนด้านการเขียนสะกดคำภาษาไทยหลังเรียนสูงกว่า
ก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05
3. ความพึงพอใจของผู้เรียนที่มีต่อการจัดการเรียนรู้เรื่องการใช้ถ้อยคำภาษาในการสื่อสารทั้งวัจนภาษาและอวัจนภาษา วิชาภาษาไทยพื้นฐาน ของนักเรียนประกาศนียบัตรวิชาชีพ
ชั้นปีที่ 1 วิทยาลัยเทคโนโลยีการจัดการเพชรเกษม
และวิทยาลัยอาชีวศึกษาคิงส์ตัน พัทยาที่จัดการเรียนการสอนโดยการใช้และไม่ใช้เกม ตักไข่ใบ้คำ และสถานการณ์จำลอง ทั้ง 2 วิทยาลัยอยู่ในระดับมาก และมากที่สุด ซึ่งจากข้อมูลการประเมินผลแบบสอบถามความพึงพอใจแสดงให้เห็นว่า นักเรียนได้รับความรู้และความสนุกสนานกับการเล่นเกม มีเจตคติที่ดีต่อวิชาภาษาไทยพื้นฐาน สามารถทำงานร่วมกันเป็นกลุ่ม และสามารถนำความรู้ไปใช้ในชีวิตประจำวันได้
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น