วิชาภาษาไทยมีบทบาทสำคัญสำคัญอย่างยิ่งต่อการพัฒนาทักษะการฟัง การพูด
การอ่าน และ การเขียน
ทำให้มนุษย์มีความคิดสร้างสรรค์คิดอย่างมีเหตุผล เป็นระบบ มีแบบแผน
สามารถวิเคราะห์ปัญหาหรือสถานการณ์ได้อย่างถี่ถ้วนรอบคอบช่วยในการคาดการณ์
วางแผน ตัดสินใจ แก้ปัญหาและนำไปใช้ในชีวิตประจำวันได้อย่างถูกต้องเหมาะสม
ภาษาไทยยังเป็นประโยชน์ต่อการเนินชีวิตให้ดีขึ้นและสามารถอยู่ร่วมกับผู้อื่นได้อย่างมีความสุข
การเรียนการสอนเรื่องการใช้ถ้อยคำภาษาในการสื่อสารทั้งวัจนภาษาและอวัจนภาษา
ในกลุ่มสาระการเรียนรู้วิชาภาษาไทย
เป็นสาระการเรียนรู้หนึ่งที่ช่วยให้นักเรียนได้อย่างมีเหตุผล มีระเบียบ
มีขั้นตอนในการคิดเชื่อมโยงจากสิ่งที่รู้ไปยังสิ่งที่เป็นปัญหา
(สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐานกระทรวงศึกษาธิการ 2551
: 1 ) ดังนั้นครูผู้สอนวิชาภาษาไทยจึงควรให้ความสำคัญ ในการเรียนการสอน
และพยายามให้ความช่วยเหลือนักเรียนจนสามารถค้นหาวิธีในการหาคำตอบทางวิชาภาษาไทยได้ด้วยตนเอง
วิชาภาษาไทยยังช่วยพัฒนามนุษย์ให้สมบูรณ์ มีความสมดุลทางร่างกาย จิตใจ
และสติปัญญา อารมณ์ และสังคม
สามารถคิดเป็น ทำเป็น แก้ปัญหาเป็น และอยู่ร่วมกับผู้อื่นในสังคมอย่างมีความสุข
จากการที่ผู้วิจัยได้รับมอบหมายในการสอนวิชาภาษาไทยพื้นฐาน
ระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นปี่ที่ 1 ของวิทยาลัยเทคโนโลยีการจัดการเพชรเกษม และวิทยาลัยอาชีวศึกษาคิงส์ตัน
เรื่องการใช้ถ้อยคำภาษาในการสื่อสารทั้งวัจนภาษาและอวัจนภาษา
พบว่านักเรียนประสบปัญหาการใช้ถ้อยคำภาษาในการสื่อสารทั้งวัจนภาษาและอวัจนภาษาไม่ถูกต้อง
และไม่เหมาะสม อันแสดงออกทั้งทางวาจาและท่าทางทำให้ผู้อื่นเข้าใจคลาดเคลื่อนในการสื่อสาร
ทั้งส่งผลให้นักเรียนมีพฤติกรรมไม่ใส่ใจในการเรียนไม่ตระหนักถึงความสำคัญในศึกษาเท่าที่ควร
เช่น การแสดงออกทางสีหน้าท่าทางในการสนทนากับครูผู้สอน และบุคคลอื่น ๆ เป็นต้น
ดังนั้นครูซึ่งเป็นผู้วิจัยจึงจำเป็นต้องทำการวิจัยการเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนเรื่อง
การใช้ถ้อยคำภาษาในการสื่อสารทั้งวัจนภาษาและอวัจนภาษา วิชาภาษาไทยพื้นฐาน
ของนักเรียนประกาศนียบัตรวิชาชีพ ชั้นปีที่
1 วิทยาลัยเทคโนเพชรเกษม
วิทยาลัยอาชีวศึกษาคิงส์ตัน พัทยา ที่จัดการเรียนการสอนโดยการใช้และไม่ใช้เกม ตักไข่ใบ้คำ และสถานการณ์จำลอง โดยการพัฒนาเกม ตักไข่ใบ้คำ และสถานการณ์จำลอง สถานการณ์จำลองที่
1 การเข้ารับการอบรมธรรมะ ณ วัดแห่งหนึ่ง
สถานการณ์จำลองที่ 2 งานมงคล (งานมงคลสมรส)
และสถานการณ์จำลองที่ 3 งานอวมงคล (งานศพ) เป็นเกมที่ช่วยส่งเสริมให้ผู้เล่น มีความพร้อมที่จะเรียนด้วยความสนุกสนานจดจำเนื้อหาได้อย่างแม่นยำ
เกมจะต้องครอบคลุมจุดประสงค์ได้หลายประการ
เพื่อให้ผู้เล่นสามารถบรรลุเป้าหมายอย่างหนึ่งอย่างใดในคราวเดียวกัน
เพื่อเป็นพื้นฐานในการเรียนรู้ในวิชาภาษาไทยพื้นฐาน รวมถึงการสร้างสถานการณ์ขึ้นมาให้ใกล้เคียงกับสภาพความเป็นจริง
ที่ผู้เรียน อาจประสบในภายหลังการเรียนด้วยสถานการณ์จำลองนี้
จะช่วยให้เกิดการถ่ายโยงความรู้ที่ดีและได้ผลมากที่สุด
ผู้เรียนจะได้คิดแก้ปัญหาจากสถานการณ์จำลองทำให้เกิดการเรียนรู้
และสามารถนำไปใช้แก้ปัญหาในชีวิตจริง
(สุจริต เพียรชอบ 2531: 251) เพื่อเป็นการสร้างแรงจูงใจในการเรียน วิชาภาษาไทยพื้นฐาน
ของนักศึกษาระดับประกาศนียบัตรชั้นปีที่ 1 ตามวัตถุประสงค์ดังต่อไปนี้
วัตถุประสงค์ของการวิจัย
1) เพื่อเปรียบเทียบค่าเฉลี่ยคะแนนก่อนเรียนและหลังวิชาภาษาไทยพื้นฐาน
เรื่องการใช้ถ้อยคำภาษาในการสื่อสารทั้งวัจนภาษาและอวัจนภาษา
ของนักศึกษาระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นปีที่ 1โดยการใช้และไม่ใช้เกม “ตักไข่ใบ้คำ” และสถานการณ์จำลอง
2) เพื่อศึกษาความพึงพอใจของผู้เรียนในวิชาภาษาไทยพื้นฐาน
เรื่องการใช้ถ้อยคำภาษาในการสื่อสารทั้งวัจนภาษาและอวัจนภาษา
ของนักศึกษาระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นปีที่ 1โดยการใช้และไม่ใช้เกม “ตักไข่ใบ้คำ” และสถานการณ์จำลอง
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น